วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค


1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน 

แท็บเล็ต ( Tablet ) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค พกพาง่าย น้ำาหนักเบา มีคีย์บอร์ด ( keyboard ) ในตัว หน้าจอเป็นระบบสัมผัส ( Touch-screen )ปรับหมุนจอได้อัตโนมัติ แบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่าคอมพิวเตอร์พกพาทั่วไป ระบบปฏิบัติการมีทั้งที่เป็น Android IOSและ Windows ระบบการเชื่อมต่อสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีทั้งที่เป็น Wi-Fi และ Wi-Fi + 3G 
ดังนั้นแท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์กระดานชนวนก็คือ แผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียนซึ่งมีมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่มีการปรับใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ ซึ่งจะมีหลายบริษัทที่ได้ให้คานิยามหรือการเรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไปเช่น แท็บเล็ตพีซี ( Tablet PC ) ซึ่งมาจากคาว่า Tablet Personal Computer และ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ( Tablet )  นอกจากนี้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ( Tablet PC ) นับได้ว่าเป็นสื่อกระแสหลักที่กาลังมาแรงในสังคมยุคออนไลน์หรือสังคมสารสนเทศระบบเปิดในปัจจุบัน เป็นสื่อที่ถูกนามาใช้ประโยชน์ในทุกกลุ่มอาชีพรวมทั้งการศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับเนื่องมาจากสมรรถนะทางเทคโนโลยีที่สร้างความสะดวกและมีประสิทธิภาพสูงในการใช้งานจึงทาให้สื่อดังกล่าวมีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน แม้แต่ในวงการศึกษาไทยที่ภาครัฐยังได้กำหนดและสนับสนุนการใช้ให้เกิดการเรียนรู้ในวงกว้างในปัจจุบัน


2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร 

ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคม เมื่อ เดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้งจนปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ
สำหรับประเทศไทยกับการเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียน ก็จะช่วยในเรื่องของเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจที่ขึ้น มาการแลกเปลี่ยนกลไกทางการค้าระหว่างประเทศ มีการแลกเปลี่ยนกันทางวัฒนธรรมและทางสังคม ส่งเสริมความมีสันติภาพและความมั่นคงต่อกัน เมื่อประเทศมีความมั่นคงทำให้ประเทศอื่นมีความเชื่อมั่นและกล้าที่จะมาลงทุนในประเทศไทย เมื่อมีประเทศอื่นเข้ามาลงทุนมาก็จะทำให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวดีขึ้น
สำหรับการเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา คือ ก่อนอื่นเราจะต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องของภาษาเราจะต้องฝึกพูดภาษาที่ใช้กันในอาเซียนเพื่อที่จะได้เปรียบในการทำงาน และครูจะต้องมีความรู้ ความสามารถ จะต้องเป็นคนที่รู้ลึก รู้จริง เพราะต่อไปนี้พอมีอาเซียนเข้ามาจะมีบุคคลจากภายนอกเข้ามาทำงาน เข้ามาเป็นคู่แข่งกับเรา ดังนั้นการเตรียมตัวก็ควรจะเตรียมตัวทั้งแต่แรกเริ่มเพื่อความสบายในวันข้างหน้า

3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง

ผศ.ดร.สมาน ฟูแสง คณบดีคณะครุศาสตร์ ได้พูดถึงครูกับภาวะผู้นำทางวิชาการว่า
 "การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน (นักศึกษา) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้"
ผู้นำที่ดีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ด้านคือ
ศรัทธา
ความไว้วางใจ
สร้างแรงบันดาลใจ
ยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคล
และได้พูดถึง "ครูกับภาวะผู้นำทางวิชาการ" โดยหยิบยกมาจาก Diann De Pasquale ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้เสนอว่า ครูที่จะเป็นผู้นำทางวิชาการ หรือผู้นำทางการเรียนการสอน  ควรมีพฤติกรรม  7 ประการ คือ
1. หาหนังสือที่ติดอันดับขายที่ดีที่สุดมาอ่าน  เพราะหนังสือที่ขายดีเป็นหนังสือที่มีความรู้มากมายและเป็นหนังสือที่ได้รับการยอมรับจากคนจำนวนมาก
2. อยู่กับปัจจุบัน /ทันสมัย  คือ  ครูจะต้องรู้เท่าทันเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบันเพื่อที่จะได้ปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับปัจจุบัน
3. หาข้อมูล มีความรู้ที่เกี่ยวกับเด็ก  คือ  การที่ครูมีความรู้เกี่ยวกับเด็กนักเรียนจะทำให้ครูสามารถเลือกรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเด็กได้  ถ้าครูรู้จักเด็กจะทำให้เด็กไม่รู้สึกเบื่อเมื่อถึงเวลาเรียนและอาจเป็นแรงจูงใจให้เด็กเข้าเรียนก็ได้ 
4. ทำให้เด็กแสดงออกซึ่งการเป็นภาวะผู้นำ  คือ  ในขณะที่จัดการเรียนการสอนครูควรกระตุ้นให้เด็กเกิดการตอบโต้กับครูบ้าง  ในการจัดการเรียนการสอนทุกครั้งครูควรมีคำถามมาถามนักเรียนเสมอๆ และควรจะถามนักเรียนให้ครบทุกคน
5. กำหนดให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม  คือ  ในเวลาเรียนครูควรส่งเสริมให้เด็กได้ทำงานเป็นกลุ่มกันบ้างเพราะการทำงานเป็นกลุ่มทำให้เด็กได้รู้จักการแก้ปัญหา  และได้รู้จักการช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน  และการทำงานเป็นกลุ่มจะทำให้เด็กมีภาวะผู้นำมากขึ้น
6. เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง  คือ  บางครั้งเมื่อเด็กเรียนกับครูมากเกินไปอาจทำให้เด็กเกิดอาการเบื่อ  ต้องให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่ครูมาสอนบ้าง  หรือไม่ก็พาเด็กไปนอกสถานที่บ้าง
7. ท้าทายให้เด็กได้คิด  คือ  ในการจัดการเรียนการสอนทุกครั้งครูควรมีคำถามที่ที่ท้าทายความรู้เด็กเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิด

4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหากนักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
    4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
    4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน 
    4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน 
    4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น 
    4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก 
    4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร

แสดงความคิดเห็น
ดิฉันคิดว่าการเรียนรู้โดยการใช้บล็อกมีประโยชน์มากเพราะการใช้บล็อกในการทำงานเป็นสิ่งที่ง่ายอยู่กับเราได้นานและมีประโยชน์กับตนเองทั้งปัจจุบันและในอนาคต เพราะเราสามารถศึกษาค้นคว้าเมื่อไรก็ได้ สำหรับการเรียนรู้ของตัวดิฉันเองก็สามารถเรียนรู้ได้ง่ายเพราะสิ่งที่เราอยากรู้หรือสิ่งที่เราอยากให้คนอื่นรู้จากเรา เราก็สามารถศึกษาหรือให้ข้อมูลผ่านทางบล็อกได้เลย ถ้าอนาคตมีการเรียนรู้โดยใช้บล็อกดิฉันคิดว่ามันคงดีมากและสะดวก สบายและในการใช้บล็อกมีประโยชน์ทั้งตัวเราและคนอื่น ส่วนในการพิจารณาในการได้คะแนนในวิชานี้เราต้องมีความพยายามมากเพราะในการทำทุกครั้งต้องให้งานออกมาดี หรือออกมาอย่างถูกต้องและสมบรูณ์ และในการเข้าเรียนนั้นก็เข้าเรียนทุกครั้งแต่ถ้าจะไม่มาเรียนหรือติดธุระต้องสำคัญจริงๆเพราะวิชานี้เป็นวิชาที่สำคัญกับตัวเราในอนาคต งานทุกชิ้นที่อาจารย์สั่งก็ต้องส่งให้ครบ ในความคิดเห็นของดิฉันในการทำงานบนบล็อกแต่ละครั้งมันก็มีอุปสรรคมากอยากทำงานให้เสร็จแต่ดันไม่มีสัญญาณเน็ต ลำบากมากเลยเวลาสัญญาณเน็ตเข้าไม่ได้เพราะมันทำให้เราทำงานไม่ได้เพราะงานทุกชิ้นต้องใช้สัญญาณเน็ตในการทำงานบนบล็อก ถ้าถามว่าดิฉันอยากได้เกรดอะไรวิชานี้ดิฉันอยากได้ Aเพราะงานทุกชิ้นดิฉันตั้งใจทำมากและวิชานี้เป็นวิชาสำคัญมากสำหรับตัวดิฉันเอง วิชานี้สามารถทำให้ดิฉันเรียนรู้อะไรที่ดิฉันไม่เคยรู้ และทำบล็อกเป็นจากที่ไม่รู้จักมาก่อนว่าบล็อกมีหน้าตาเป็นอย่างไร ดิฉันดีใจที่มีบล็อกเป็นของตนเองถึงมันจะมีอุปสรรคในการทำงานในแต่ละครั้งก็ตาม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น