วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4

สรุป เรื่อง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
การทำงานเป็นทีม  การทำงานให้สำเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถสองอย่างเป็นสำคัญ    คือสามารถในการใช้วิชาความรู้อย่างหนึ่ง  สามารถในการประสานสัมพันธ์กับผู้อื่นอีกอย่างหนึ่ง  ทั้งสองประการนี้ต้องดำเนินคู่กันไป  และจำเป็นต้องกระทำด้วยความสุจริตกาย  สุจริตใจ  ด้วยความคิด  ความเห็นที่เป็นอิสระ  ปราศจากอคติ  และด้วยความถูกต้อง   ตามเหตุตามผลด้วย  จึงจะช่วยให้งานบรรลุจุดหมายและประโยชน์ที่พึงประสงค์โดยครบถ้วน    
ทีม (Team)หมายถึง  การที่บุคคล  2  คน  ขึ้นไป  มาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพและผู้ปฏิบัติต่างเกิดความพอใจในการปฏิบัติต่อกันและกัน     ผลงานที่ได้มาจากการร่วมแรงร่วมใจกันของสมาชิกในทีมที่มีประสิทธิภาพ  บรรยากาศใน -ทีมงานสมาชิกจะมีความรู้สึกมีความสุขสนุกสนาน และรู้สึกว่าตนเองก้าวหน้าประสบความสำเร็จ
            ความสำคัญของทีม
การสร้างทีมงานและการพัฒนาองค์กรนั้นเป็นกิจกรรมที่ดีที่สุด  การทำงานเป็นทีม  จะเป็นประโยชน์สูงสุดขององค์กร    และมีโอกาสประสบผลสำเร็จมากกว่าการทำงานคนเดียวแต่การสร้างทีมงานนั้นต้องใช้ เวลา ในการพัฒนาบุคคล  และพัฒนาทีมงานพอสมควร จึงจะเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ

1.       แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีม เป็นอย่างไร     

 1.ทำความเข้าใจอย่างชัดเจนในเหตุผลสำหรับการตัดสินใจ
2. วิเคราะห์ลักษณะของปัญหาที่จะตัดสินใจ
3. ตรวจสอบทางเลือกต่างๆ ในการแก้ปัญหาโดยพิจารณาถึงผลที่อาจเกิดตามมาด้วย
4. การนำเอาผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ
6. ภาวะผู้นำที่เหมาะสม ผู้นำ หรือ หัวหน้าทีมควรทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะประเด็นที่สำคัญในการทำงานตามบทบาทของผู้นำ 
7. การตรวจสอบทบทวนผลงานและวิธีในการทำงาน ทีมงานที่ดีไม่เพียงแต่ดูจากลักษณะของทีม และบทบาทที่มีอยู่ในองค์กรเท่านั้น 
8. การพัฒนาตนเอง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพพยายามที่จะรวบรวมทักษะต่างๆของแต่ละคน การพัฒนาบุคลากรในองค์การมักจะมองในเรื่องทักษะและความรู้ที่แต่ละคนมีอยู่แล้ว ก็ทำการฝึกอบรมเพื่อปรับปรุงพัฒนาคนให้มีความสามารถสูงขึ้น อันจะมีผลดีในการทำงานให้ดีขึ้น


2.
นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร ยกตัวอย่างประกอบ
การทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพนั้น ต้อง
-   เข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายงานที่ชัดเจน
-  เปิดเผย จริงใจ ยอมรับ และรับฟัง
ร่วมมือกัน ใช้ความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์
ทบทวนการปฏิบัติงานและตื่นตัวตลอดเวลา
-  มีการพัฒนาตนเอง
-รู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น เข้าใจเพื่อนร่วมงาน และสามารถร่วมกลุ่มกันได้เป็นอย่างดี
       และต้องทำงานอย่างมีลำดับขั้นตอนในการทำงาน คือ วิเคราะห์งาน กำหนดเป้าหมายร่วมกัน วางแผนการทำงาน แบ่งงานให้สมาชิกของทีม ปฏิบัติจริงตามแผน ติดตามผล และประเมินขั้นสุดท้าย
อุปสรรคการทำงานเป็นทีม1.ขาดการตกลงกันตั้งแต่เริ่มต้น
2.มีการปกปิดข้อมูลผิดพลาดที่ผ่านมา
3.ไม่ได้ใช้วิธีการประชุมหารือ
4.ขาดการวางแผนงานและเวลา
5.ไม่มีการแบ่งความรับผิดชอบ
6.ขาดการประเมินผลการทำงานของทีม

กิจกรรมที่ 3

1.)   การจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียน เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 กับยุคก่อนศตวรรษที่ 21 เปรียบเทียบกันแตกต่างกันอย่างไร 
  -ในในยุคศตวรรษที่ 21  การเรียนการสอนส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในโรงเรียน  มนุษย์ไม่รู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง การเรียนรู้จะเน้นความจำ เป็นสำคัญ  แต่ในยุคศตวรรษที่ 11  มนุษย์จะศึกษาค้นคว้าอยู่ตลอดเวลาการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่  การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มนุษย์เรียนรู้ไม่มีขีดจำกัด    สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

2. )  ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูยุดต่อไปข้างหน้า ให้สรุปตามแนวคิดของนักศึกษา
       -การเตรียมตัวของครู ในอนาคตต่อไปข้างหน้า ในปี พ..2558  ประเทศไทยต้องเข้าสู้ประชาคมอาเซียน การเตรียมตัวเป็นครูในอนาคตอย่างแรกต้องมีความชำนาญในด้านภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากลของโลก  การเตรียมตัวในด้านอื่นๆต้องมีความพร้อมในทุกๆด้านโดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีครูต้องก้าวพร้อมไปกับเทคโนโลยี เพื่อสามารถถ่ายทอดให้เด็กได้   และที่สำคัญต้องทันต่อเหตุการณ์บ้านเมือง
                               

กิจกรรมที่ 2

สรุปทฤษฎีการบริหาร
            มาสโลว์เป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษยนิยม เขาได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบการศึกษาของอเมริกัน    มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน คือ
                1. ความต้องการทางกายภาพ คือความต้องการพื้นฐานของร่างกายที่จำเป็นในการดำรงชีวิต
                2. ความต้องการความปลอดภัย คือ ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
                3. ความต้องการทางสังคม คือความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
                4. ความต้องการยกย่องชื่อเสียง คือความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่า
                5. ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิตคือ ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์
             ทฤษฎีนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นทฤษฎีการมองต่างมุม ในความจริงของทุกคนไม่มีใครจะร้ายอย่างบริสุทธิ์ คือไม่มีข้อดีเลย คงไม่มี และในทางกลับกัน ก็คงไม่มีใครที่ดีทั้งหมด
 -ทฤษฎี X (Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม
 -ทฤษฎี Y (Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ
-ทฤษฎี Z บางตำราเรียกว่ากลุ่มทฤษฎีร่วมสมัย เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ แต่ทฤษฎีร่วมสมัยบางอย่างที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นทฤษฎี การที่จะทำความเข้าใจทฤษฎี Z ได้นั้น ต้องทำความเข้าใจของทฤษฎี A และทฤษฎี J ก่อน
ทฤษฎี A คือ  Amarican Theory เป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา
ทฤษฎี J คือ การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น ซึ่งมีลักษณะที่เรียกว่า  การจ้างงานตลอดชีวิต มีการเลื่อนตำแหน่ง มีความผูกพันกัน
           วิลเลี่ยม โอชิ มองเห็นข้อดีและข้อเสียของ 2 ทฤษฎีแล้วนำข้อดีข้อเสียนั้นมาวิเคราะห์สร้างเป็นทฤษฎีร่วมสมัย ที่เรียกว่า Blend Together หรือการนำมาผสมผสานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า ทฤษฎี Z ซึ่งเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ
            Henry Fayol   บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่
เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ
เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ
         แมกซ์ เวเบอร์   เป็นนักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy เขาเห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสม โดยสรุปแล้วแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6 ประการ คือ
1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ
2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการทุกคนที่เข้าร่วมในหน่วยงาน
 4. องค์การต้องมีระเบียบและกฏเกณฑ์  เพื่อให้สามารถประกันความเป็นเอกภาพในการดำเนินการ
5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง คือการไม่มีอะไรเป็นพิเศษเป็นการส่วนตัว ถ้าจะทำอะไรก็ต้องให้เป็นไปตามกฏเกณฑ์ที่ได้มีการกำหนดเอาไว้
6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ
           Luther Gulick   เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ ในวงการบริหารจะรู้จักกิจกรรมทั้ง 7 ประการ กิจกรรม 7 ประการมีดังนี้
P คือการวางแผน หมายถึงการกำหนดเป้าหมายขององค์การว่าควรทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อะไร และจะดำเนินการอย่างไร
O คือการจัดองค์การหมายถึงการจัดตั้งโครงสร้างอำนาจอย่างเป็นทางการภายในองค์การเพื่อประสานงานหน่วยทำงานย่อยต่าง ๆ ให้สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์การได้
D คือการสั่งการ หมายถึง การที่หัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่ต้องตัดสินใจอยู่ตลอดเวลามีหน้าที่เป็นผู้นำขององค์การ
S คือการบรรจุ หมายถึง หน้าที่ด้านบริหารงานบุคคลเพื่อฝึกอบรมเจ้าหน้าที่
CO คือการประสานงานหมายถึง หน้าที่สำคัญต่าง ๆ ในการประสานส่วนต่างๆของงานให้เข้าด้วยกันอย่างดี
R คือการรายงาน หมายถึง การรายงานความเคลื่อนไหวต่าง ๆ
B คือการงบประมาณหมายถึงหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวของกับงบประมาณในรูปของการวางแผน                                         
           Frederick Herzberg   ทฤษฎี 2 ปัจจัย
การทำงาน และทำให้เขาได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า Hygiene Factors
2. ปัจจัยภายใน หรือ Motivation Factors
                 Frederick W. Taylor   ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
เทย์เลอร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่
   1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
    2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
   3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
   4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ
              Henry L. Gantt    ผู้พัฒนาการอธิบายแผนโดยใช้กราฟ (Gantt Chart)
คุณ Gantt เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดในด้านที่นำเอากราฟ "Gantt Chart" มาเป็นสื่อในการอธิบายแผน การวางแผน การจัดการ และการควบคุมองค์กรที่มีความสลับซับซ้อน เพื่อให้ผู้รับฟังเกิดมิติในการรับรู้มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นแล้วเขายังได้คิดวิธีจ่ายค่าตอบแทนในการทำงานแบบใหม่ โดยใช้วิธีให้สิ่งจูงใจ
Frank B. & Lillian M. Gilbreths    Time – and – Motion Studies
แนวคิดของ Gilbreth เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง และความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง   


สรุปจากเอกสารบริหารการศึกษา
บทที่ 1
มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
การบริหาร  เริ่มใช้เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายโดยกลุ่มนักรัฐศาสตร์ ซึ่งหมายถึง การจัดการหรือควบคุมกิจการต่างๆของรัฐ ส่วนการบริหารของรัฐหมายถึงการบริหารหรือการจัดการหรือดำเนินการในด้านรายละเอียดอย่างมีระเบียบ ส่วนความสำคัญของการบริหารเป็นการดำรงอยู่รวมกันของมนุษย์  เป็นผลทำให้การบริหารของหน่วยงานต่างๆได้ขยายงานอย่างกว้างขวาง  การบริหารการศึกษา  หมายถึง  กิจกรรมต่างๆ  ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ  เพื่อพัฒนาสังคมในทุกๆด้าน และการบริหารการศึกษา หมายถึงกิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน
บทที่  2
วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆและการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
วิวัฒนาการด้านรัฐกิจให้ความหมายการบริหารงานของรัฐหมายถึง การบริหารหรือจัดการหรือดำเนินการในด้านรายละเอียดอย่างมีแบบแผน ซึ่งเกี่ยวพันกับกฎหมายต่างๆของรัฐการใช้กฎหมายคือการบริหาร ส่วนวิวัฒนาการด้านธุรกิจในระบบมีการใช้วิธีฝึกจากการทำงานการจัดการ เป็นสาขาที่สำคัญ  นอกจากการใช้  “ระเบียบวินัยในการทำงาน การบริหารด้านธุรกิจมีการวางกฎเกณฑ์ ระเบียบปฏิบัติวัตถุประสงค์และการรวมพลังของกลุ่ม  ดังนั้นปรัชญาของการบริหารธุรกิจจึงมุ่งแสวงหากำไรมากกว่าอย่างอื่น  เป็นเป้าหมายสำคัญในการแบ่งยุคของยุคของนักทฤษฎีการบริหารจะแบ่งได้ดังนี้ในยุคที่ 1 นักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิม จะจัดการงานซึ่งได้ปฏิบัติ โดยอาศัยหลักควบคุมทางวินัย ใน ยุคที่ยุค  Human  Relation  Era  ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ความรู้ความชำนาญของผู้บริหาร  คือ  ผู้บริหารต้องมีความรู้  ความฉลาด  ส่วนการประยุต์ใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์ในการบริหารการศึกษาเราสามารถนำหลักมนุษยสัมพันธ์มาใช้ในการบริหารการศึกษา ส่วนในยุคที่ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริการ เป็นการจัดองค์การที่เป็นทางการจึงให้ทฤษฎีองค์การและยึดตามแนวมนุษยสัมพันธ์ให้ความสำคัญกับตัวบุคคล  มุ่งด้านระบบขององค์การ  และสนใจจะพูดถึงพฤติกรรมศาสตร์
บทที่  3
งานบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาจะไม่แตกต่างกับการบริหารงานทั่วไป กล่าวคือสามารถนำหลักการของของการบริหารทั่วไปมาใช้กับการบริหารศึกษาได้ ผลเสียของการบริหารดังกล่าวสามารถมองเห็นได้ง่าย  เพราะจะมีลักษณะเผด็จการโดยการสั่งการสั่งจากเบื้องบน  มีคำสั่งให้ครูปฏิบัติและมีข้อห้ามในการกระทำ  และมีการควบคุมอย่างเข้มงวดและมีการลงโทษหากผู้ใดฝ่าฝืนและลงโทษตามกฎหมายกำหนดและมีเครือข่ายทางการศึกษาดังนี้
1.การผลิต หมายถึง กิจกรรมพิเศษหรืองานที่ทางองค์การได้จัดตั้งขึ้น
2.การประกันถึงการใช้ผลผลิตจากประชาชน หมายถึง กิจกรรมและผลผลิตของการดำเนินงาน
3.การเงินและการบัญชี หมายถึง  การรับและการจ่ายเงินในการลงทุนในกิจกรรมขององค์การ
4.บุคลากร คือ   การกำหนดรอบและการดำเนินการของนโยบาย
5.การประสานงาน  คือ  เป็นกิจกรรมที่สำคัญของการบริหารการศึกษา
บทที่  4
กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาเป็นหน้าที่หนึ่งของรัฐบาลในการบริหารประเทศ  เป็นการบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน  ที่เรียกว่าการบริหารการศึกษาสิ่งที่ทำให้การบริหารการศึกษา  การบริหารราชการ  และการบริหารธุรกิจจะแตกต่างกัน  และปรัชญาการศึกษา  ในการบริหารการศึกษาผู้บริหารนั้นจะต้องรู้เกี่ยวกับหลักการบริหาร  ที่สามารถนำไปเป็นหลักการจัดการศึกษาในโรงเรียนมี  2 เรื่อง คือ  1.การจัดระบบสังคม 2.เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา สำหรับหลักการจัดระบบการศึกษา  ไม่ว่าระดับชาติ  ระดับท้องถิ่น  ระดับโรงเรียน คือจะต้องรู้จักเด็กทุกคน  โดยยึดหลักความเสมอภาคและเหมาะสมกับปรัชญา สภาพแวดล้อมของโรงเรียน และมีการส่งเสริมกิจกรรมให้สอดคล้องกับการปกครองในการบริหารงานในชั้นเรียนอย่างเท่าเทียมกันโดยกระบวนการบริหารการศึกษา  เป็นความคิดรวบยอดและเป็นการจัดระบบการศึกษา ให้เป็นไปตามกระบวนการศึกษาของโรงเรียน
บทที่  5
องค์การและการจัดองค์การ
องค์การตามแนวคิด หมายถึงส่วนประกอบที่เกิดจากระบบย่อยหลายระบบที่มีปฏิสัมพันธ์  กันภายใต้สิ่งแวดล้อมหรือระบบใหญ่ เราสามารถจำแนกองค์การที่อยู่รอบตัวเราออกเป็น  ลักษณะใหญ่ๆคือ
1.             องค์การทางสังคม
2.             องค์การทางราชการ
3.             องค์การเอกชน
     แนวคิดในการจัดองค์การ
1.  แนวคิดในการจัดองค์การมาจากพื้นฐานการดำเนินงานขององค์การที่ภารกิจมาก
2.  แนวคิดในการจัดองค์การยังต้องคำนึงถึง  ผู้ปฏิบัติงาน
3.  แนวในการจัดการองค์การ  จะต้องกล่าวผู้บริหารควบคู่กันไป
     ความสำคัญของการจัดองค์การเป็นที่รวมของคนและเป็นที่รวมของงานต่างๆ  เพื่อให้พนักงานขององค์การ  ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ
    องค์ประกอบในการจัดองค์การ
                1.  หน้าที่การงานเป็นภารกิจ
                2.  การแบ่งงานกันทำ
                3.  การรวมและการกระจายอำนาจในการจัดการองค์การ
    ทฤษฎีองค์การ  ความรู้ที่ได้จากทฤษฎีขององค์การอันด้มาจากสังคมวิทยา  รัฐศาสตร์  และบางส่วนของจิตวิทยาสังคมกับเศรษฐศาสตร์                 
ระบบราชการและองค์การทางการศึกษา ให้ความหมายไว้ว่าระบบราชการ  หมายถึง  ระบบการบริหารที่มีลักษณรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางอย่างมาก  มีความอิสระในการปฎิบัติงานและเป็นกึ่งทหาร
บทที่ 6
การติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสารเป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการบริหารที่ดี มีความหมายว่ากระบวนการติดต่อเกี่ยวข้องและประสานงานกันระหว่างบุคคล โดยอาศัยวิธีการถ่ายทอด และการรับข้อมูลเพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้ การติดต่อสื่อสารจึงมีความสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารเพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดหรือเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกันและยังมีความสำคัญในการดำเนินการในองศ์การอย่างมาก ปัจจัยในการติดต่อสื่อสารมี 3 ตัว คือ สื่อ ช่องทางที่สื่อผ่านและกระบวนการ รูปแบบของการติดต่อสื่อสาร การจัดเตรียม การสังเกตการณ์ของกระบวนการ การจำแนกปัจจัยผันแปร ชึ่งสิ่งเหล่านี้จะกำหนดทิศทาง ช่วยให้ผู้บริหารจับประเด็นปัญหาของการติดต่อสื่อสาร และช่วยป้องกันความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นก่อนล่วงหน้า องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสารจะมีผู้ส่งสาร ช่องทาง ข้อมูล ผู้รับสาร การตอบรับ ส่วนการติดต่อสื่อสารจะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข่าวสารมีความเข้าใจระหว่างผู้ปฎิบัติงานเพื่อการทำงานไปด้วยดี ช่วยสร้างทัศนคติเกิดแรงจูงใจ เพื่อเกิดแรงจูงใจ
บทที่ 7
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ หมายถึงการเป็นผู้นำที่ใช้อิทธิพลในการดำเนินงาน ในความสัมพันธ์ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานการณ์ต่างๆเพื่อปฏิบัติการและอำนวยการ โดยใช้กระบวนการติดต่อชึ่งกันและกัน หน้าที่ผู้นำเกี่ยวข้องกับ การอำนวย การจูงใจ การริเริ่ม กำหนดนโยบาย วินิจฉัยสั่งการ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ มีผู้นำ ผู้ตาม สถานการณ์ ผู้นำกับผู้บริหารจะแตกต่างกันคือผู้นำก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ส่วนผู้บริหารเป็นผู้รักษาความมั่นคงในหน่วยงาน ผู้นำจะกลุ่มยกย่องเนื่องจากมีลักษณะเด่นเป็นพิเศษเหนือบุคคลอื่นเนื่องจากผู้บริหารมีรูปแบบเป็นทางการ
บทที่ 8
การประสานงาน
การประสานงาน คือการจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่งๆร่มมือปฎิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งเดี่ยวกัน เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบาย ความมุ่งหมายในการประสานช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อจัดความซ้ำซ้อนกันของการทำงานโดยไม่จำเป็น และเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงาน ภารกิจในการประสานงานที่ดี ควรทราบถึงภารกิจที่ดีในการประสานงานคือต้องทราบนโยบาย แผนงาน งานที่รับผิดชอบ และทรัพยากร ส่วนหลักการประสานงานควรจัดให้มีระบบในการสื่อสาร ความร่วมมือ การประสานงานและนโยบายที่ดี และในการประสานให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วควรจะมีโครงสร้างที่จัดเป็นระบบแบบแผน มีแผนภูมิแสดงสายการบังคับ มีการเขียนนโยบาย มีระบบเสนองาน มีเครื่องมือและระบบสื่อสารที่เพียงพอและเปิดโอกาสให้กับผู้เข้าร่วม การประสานงานที่ดีจะมีประโยชน์หลายอย่างคือช่วยลดการขัดแย้ง ลดปัญหาที่ซับซ้อน ทำให้เกิดเอกภาพในการทำงาน ช่วยให้ประหยัดเงิน เวลา
บทที่ 9
การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
การตัดสินใจคือการชั่งใจไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อให้การดำเนงานไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่วนการวินิจฉัยสั่งการคือการสั่งงานหรือการพิจารณาตกลงชี้ขาดจากทางเลือกที่มีอยู่มากกว่าหนึ่งทางขึ้นไป หลักการในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ บางครั้งตัดสินใจถูกแต่การสั่งงานผิดพลาดอาจทำให้เกิดผลเสียหายแก่งาน  ลักษณะการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหารที่ดี จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้ ระยะเวลาที่เหมาะสม ความแน่นอน ความรู้ความสามารถของผู้บริหาร ประสบการณ์ในการทำงาน ทัศนคติ บุคลิกภาพที่มีอิทธิพล ความลำเอียงส่วนบุคคล ความโดดเดี่ยว ประสบการณ์ การรู้โดยความรู้สึก และการแสวงหาคำแนะนำ
บทที่ 10
ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน
ผู้บริหารโรงเรียน ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายงานให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาหรืออำนวยการต่างๆ  จะมีหลายด้าน ดังนี้   1.การบริหารงานวิชาการ จะเป็นหัวใจของการบริหารในโรงเรียน ลักษณะและความสำคัญของงานวิชาการ จึงถือว่างานวิชาการท้าทายผู้บริหารการศึกษา งานวิชาการจะเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน และผู้บริหารจะต้องรับรู้ รับผิดชอบ ควบคุมดูแลในการดำเนินการวางแผน  2.การบริหารบุคคล คือการจัดงานเกี่ยวกับคนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมให้กำลังใจผู้ปฎิบัติให้ทำงานอย่างมีปะสิทธิภาพ  ความสำคัญของการบริหารบุคคล คือ คนเป็นผู้บันดาลให้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อสรรหาและเลือกสรรคนดี มีความรู้ความสามารถมาทำงานให้เกิดผลสูงสุดอยู่กับองศ์การนานๆ  3.การบริการธุรการในโรงเรียน คืองานธุรการเป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนหรอสถาบันการศึกษา ส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ความสำคัญจะเป็นเสมือนน้ำมันหล่อลื่นให้เครื่องจักร(งานวิชาการ) ทำงานได้ดีและเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสามารถของผู้บริหารงาน หน้าที่ของผู้บริหารงานธุรการ คือจะเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายงานธุรการ ติดตามและวางแผนการปฎิบัติงาน จัดระบบงาน  4.การบริหารงานนักเรียน เป็นการบริการงานเกี่ยวกับนักเรียนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียน หลักในการจัดกิจกรรม ต้องให้นักเรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมอย่างเสมอภาค ต้องอยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษา ต้องปลูกฝังความคิด  5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ คือการรู้จักจัดหา รู้จักใช้อาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุดและให้คงสภาพดีสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ
 

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่1


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
ความหมายของคำว่า การบริหาร  การศึกษา  การบริหารการศึกษา
  -การบริหารหมายถึงการที่บุคคล  ตั้งแต่2คนขึ้นไปททำงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
  -การศึกษาหมายถึงเครื่องมือที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงาม  ทางด้านจิตใจ  ร่างกาย  และสติปัญญา
  -เมื่อนำมารวมกันการบริหารการศึกษาหมายถึง การดำเนินงาน  การดำเนินกิจกรรมของกลุ่มบุคคล  เพื่อพัฒนาคนในทุกๆด้าน  เพื่อให้คนพัฒนาตรงตามเป้าหมายของสังคม

สรุปบทเรียน

     การบริหารการศึกษาโดยภาพรวมคือการพัฒนาคน  โดยอาศัยบุคคลตั้งแต่ 2  คนขึ้นไปมาวางแผนร่วมกันเพื่อให้เกิดผลสูงสุด
   การบริหารแบ่งเป็น  3  ประเภทคือ
       1.การบริหารราชการแผ่นดิน
       2.การบริธุรกิจ
       3.การบริหารการศึกษา

แนะนำตนเอง

 

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางสาวจุฑาทิพย์  บัวจีน

ชื่อเล่น  จอย

เกิดวันที่  14 กุมภาพันธ์  2534

พักอยู่  หอ  A 

มีพี่น้อง  2คน  เป็นคนที่ 2

อยู่บ้านเลขที่  13/1  ม.3  ตำบลท่าพยา  อำเภอปากพนัง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  80140

จบชั้นประถมศึกษามาจาก  โรงเรียนเทศบาลปากพนัง2

จบชั้มัธยมศึกษาตอนต้นจาก  โรงเรียนปากพนัง

จบชั้มัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนปากพนัง

ปัจุบันกำลังศึกษาอยู่ระดับปริญาตรี  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คณะครุศาสตร์  หลักสูตรสังคมศึกษา  04

รหํสนักศึกษา  5311116159

งานอดิเรก  อ่าหนังสือ  ฟังเพลง  ทำการบ้าน  เล่น facebook 

ความสามารถพิเศษ  เล่นกีฬา

คติประจำใจ  ทำวันนี้ที่สุด  พรุ่งนี้ก็จะดีเอง