วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่6


ทดสอบปลายภาค


1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน 

แท็บเล็ต ( Tablet ) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค พกพาง่าย น้ำาหนักเบา มีคีย์บอร์ด ( keyboard ) ในตัว หน้าจอเป็นระบบสัมผัส ( Touch-screen )ปรับหมุนจอได้อัตโนมัติ แบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่าคอมพิวเตอร์พกพาทั่วไป ระบบปฏิบัติการมีทั้งที่เป็น Android IOSและ Windows ระบบการเชื่อมต่อสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีทั้งที่เป็น Wi-Fi และ Wi-Fi + 3G 
ดังนั้นแท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์กระดานชนวนก็คือ แผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียนซึ่งมีมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่มีการปรับใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ ซึ่งจะมีหลายบริษัทที่ได้ให้คานิยามหรือการเรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไปเช่น แท็บเล็ตพีซี ( Tablet PC ) ซึ่งมาจากคาว่า Tablet Personal Computer และ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ( Tablet )  นอกจากนี้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ( Tablet PC ) นับได้ว่าเป็นสื่อกระแสหลักที่กาลังมาแรงในสังคมยุคออนไลน์หรือสังคมสารสนเทศระบบเปิดในปัจจุบัน เป็นสื่อที่ถูกนามาใช้ประโยชน์ในทุกกลุ่มอาชีพรวมทั้งการศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับเนื่องมาจากสมรรถนะทางเทคโนโลยีที่สร้างความสะดวกและมีประสิทธิภาพสูงในการใช้งานจึงทาให้สื่อดังกล่าวมีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน แม้แต่ในวงการศึกษาไทยที่ภาครัฐยังได้กำหนดและสนับสนุนการใช้ให้เกิดการเรียนรู้ในวงกว้างในปัจจุบัน


2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร 

ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคม เมื่อ เดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้งจนปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ
สำหรับประเทศไทยกับการเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียน ก็จะช่วยในเรื่องของเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจที่ขึ้น มาการแลกเปลี่ยนกลไกทางการค้าระหว่างประเทศ มีการแลกเปลี่ยนกันทางวัฒนธรรมและทางสังคม ส่งเสริมความมีสันติภาพและความมั่นคงต่อกัน เมื่อประเทศมีความมั่นคงทำให้ประเทศอื่นมีความเชื่อมั่นและกล้าที่จะมาลงทุนในประเทศไทย เมื่อมีประเทศอื่นเข้ามาลงทุนมาก็จะทำให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวดีขึ้น
สำหรับการเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา คือ ก่อนอื่นเราจะต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องของภาษาเราจะต้องฝึกพูดภาษาที่ใช้กันในอาเซียนเพื่อที่จะได้เปรียบในการทำงาน และครูจะต้องมีความรู้ ความสามารถ จะต้องเป็นคนที่รู้ลึก รู้จริง เพราะต่อไปนี้พอมีอาเซียนเข้ามาจะมีบุคคลจากภายนอกเข้ามาทำงาน เข้ามาเป็นคู่แข่งกับเรา ดังนั้นการเตรียมตัวก็ควรจะเตรียมตัวทั้งแต่แรกเริ่มเพื่อความสบายในวันข้างหน้า

3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง

ผศ.ดร.สมาน ฟูแสง คณบดีคณะครุศาสตร์ ได้พูดถึงครูกับภาวะผู้นำทางวิชาการว่า
 "การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน (นักศึกษา) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้"
ผู้นำที่ดีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ด้านคือ
ศรัทธา
ความไว้วางใจ
สร้างแรงบันดาลใจ
ยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคล
และได้พูดถึง "ครูกับภาวะผู้นำทางวิชาการ" โดยหยิบยกมาจาก Diann De Pasquale ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้เสนอว่า ครูที่จะเป็นผู้นำทางวิชาการ หรือผู้นำทางการเรียนการสอน  ควรมีพฤติกรรม  7 ประการ คือ
1. หาหนังสือที่ติดอันดับขายที่ดีที่สุดมาอ่าน  เพราะหนังสือที่ขายดีเป็นหนังสือที่มีความรู้มากมายและเป็นหนังสือที่ได้รับการยอมรับจากคนจำนวนมาก
2. อยู่กับปัจจุบัน /ทันสมัย  คือ  ครูจะต้องรู้เท่าทันเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบันเพื่อที่จะได้ปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับปัจจุบัน
3. หาข้อมูล มีความรู้ที่เกี่ยวกับเด็ก  คือ  การที่ครูมีความรู้เกี่ยวกับเด็กนักเรียนจะทำให้ครูสามารถเลือกรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเด็กได้  ถ้าครูรู้จักเด็กจะทำให้เด็กไม่รู้สึกเบื่อเมื่อถึงเวลาเรียนและอาจเป็นแรงจูงใจให้เด็กเข้าเรียนก็ได้ 
4. ทำให้เด็กแสดงออกซึ่งการเป็นภาวะผู้นำ  คือ  ในขณะที่จัดการเรียนการสอนครูควรกระตุ้นให้เด็กเกิดการตอบโต้กับครูบ้าง  ในการจัดการเรียนการสอนทุกครั้งครูควรมีคำถามมาถามนักเรียนเสมอๆ และควรจะถามนักเรียนให้ครบทุกคน
5. กำหนดให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม  คือ  ในเวลาเรียนครูควรส่งเสริมให้เด็กได้ทำงานเป็นกลุ่มกันบ้างเพราะการทำงานเป็นกลุ่มทำให้เด็กได้รู้จักการแก้ปัญหา  และได้รู้จักการช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน  และการทำงานเป็นกลุ่มจะทำให้เด็กมีภาวะผู้นำมากขึ้น
6. เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง  คือ  บางครั้งเมื่อเด็กเรียนกับครูมากเกินไปอาจทำให้เด็กเกิดอาการเบื่อ  ต้องให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่ครูมาสอนบ้าง  หรือไม่ก็พาเด็กไปนอกสถานที่บ้าง
7. ท้าทายให้เด็กได้คิด  คือ  ในการจัดการเรียนการสอนทุกครั้งครูควรมีคำถามที่ที่ท้าทายความรู้เด็กเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิด

4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหากนักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
    4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
    4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน 
    4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน 
    4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น 
    4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก 
    4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร

แสดงความคิดเห็น
ดิฉันคิดว่าการเรียนรู้โดยการใช้บล็อกมีประโยชน์มากเพราะการใช้บล็อกในการทำงานเป็นสิ่งที่ง่ายอยู่กับเราได้นานและมีประโยชน์กับตนเองทั้งปัจจุบันและในอนาคต เพราะเราสามารถศึกษาค้นคว้าเมื่อไรก็ได้ สำหรับการเรียนรู้ของตัวดิฉันเองก็สามารถเรียนรู้ได้ง่ายเพราะสิ่งที่เราอยากรู้หรือสิ่งที่เราอยากให้คนอื่นรู้จากเรา เราก็สามารถศึกษาหรือให้ข้อมูลผ่านทางบล็อกได้เลย ถ้าอนาคตมีการเรียนรู้โดยใช้บล็อกดิฉันคิดว่ามันคงดีมากและสะดวก สบายและในการใช้บล็อกมีประโยชน์ทั้งตัวเราและคนอื่น ส่วนในการพิจารณาในการได้คะแนนในวิชานี้เราต้องมีความพยายามมากเพราะในการทำทุกครั้งต้องให้งานออกมาดี หรือออกมาอย่างถูกต้องและสมบรูณ์ และในการเข้าเรียนนั้นก็เข้าเรียนทุกครั้งแต่ถ้าจะไม่มาเรียนหรือติดธุระต้องสำคัญจริงๆเพราะวิชานี้เป็นวิชาที่สำคัญกับตัวเราในอนาคต งานทุกชิ้นที่อาจารย์สั่งก็ต้องส่งให้ครบ ในความคิดเห็นของดิฉันในการทำงานบนบล็อกแต่ละครั้งมันก็มีอุปสรรคมากอยากทำงานให้เสร็จแต่ดันไม่มีสัญญาณเน็ต ลำบากมากเลยเวลาสัญญาณเน็ตเข้าไม่ได้เพราะมันทำให้เราทำงานไม่ได้เพราะงานทุกชิ้นต้องใช้สัญญาณเน็ตในการทำงานบนบล็อก ถ้าถามว่าดิฉันอยากได้เกรดอะไรวิชานี้ดิฉันอยากได้ Aเพราะงานทุกชิ้นดิฉันตั้งใจทำมากและวิชานี้เป็นวิชาสำคัญมากสำหรับตัวดิฉันเอง วิชานี้สามารถทำให้ดิฉันเรียนรู้อะไรที่ดิฉันไม่เคยรู้ และทำบล็อกเป็นจากที่ไม่รู้จักมาก่อนว่าบล็อกมีหน้าตาเป็นอย่างไร ดิฉันดีใจที่มีบล็อกเป็นของตนเองถึงมันจะมีอุปสรรคในการทำงานในแต่ละครั้งก็ตาม


วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่9


การจัดการห้องเรียนที่ดี

            ในการจัดห้องเรียนที่ดี คือการจัดสภาพห้องเรียน เป็นการจัดตกแต่งห้องเรียน ให้มีบรรยากาศที่น่าเรียนเพื่อที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน นอกเหนือจากความหมายการจัดการห้องเรียนแล้ว ครูยังเป็นผู้ดำเนินการในการจัดการคือครูต้องสร้างกิจกรรมทุกอย่างที่ครูทำเพื่อจะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สถานที่นั่งเรียนจะต้องมีอากาศที่ปลอดโปร่งถ่ายเทได้อย่างสะดวก ไม่มีสิ่งภายนอกมารบกวนระหว่างทำการเรียนการสอน มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ในการสอนเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์

 การจัดโต๊ะครู


1. ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม อาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้อง หรือหลังห้องก็ได้ งานวิจัยบางเรื่องเสนอแนะให้จัดโต๊ะครูไว้ด้านหลังห้องเพื่อให้มองเห็นนักเรียนได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม การจัดโต๊ะครูนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดที่นั่งของนักเรียนด้วย
2. ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งบนโต๊ะและในลิ้นชักโต๊ะ เพื่อสะดวกต่อการทำงานของครู และการวางสมุดงานของนักเรียน ตลอดจนเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่นักเรียน



กิจกรรมที่8


ครูมืออาชีพในอุดมคติ

               ครูในอุดมคติของข้าพเจ้า คือ ต้องให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยยินดีรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนอย่างจริงใจและจริงจัง ต้องมีการแต่งกายสุภาพ  ใจดี มีการเตรียมตัวทุกครั้งที่จะสอนและมีความรู้ในเนื้อหาที่จะสอนอย่างชัดเจนแม่นยำ เป็นคนร่าเริงและเป็นกันเองกับลูกศิษย์  และมีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่ทำให้เด็กได้คิด มีการลงมีปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและครูมืออาชีพจึงต้องมีความสามารถ

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดรมทดสอบกลางภาค

บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล วารสาน ทักษิน

1. ข้อสรุปที่ได้จากบทความ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน ความเป็นครูของพระองค์ท่านคือ ทรงทำให้ดู เป็นครูที่พยายามที่จะจูงใจนักเรียนให้มาสนใจ พยายามสอนให้นักเรียนรู้ให้นักเรียนเข้าใจ และเมื่อจะสอนให้คนดี ครูต้องดีก่อน จะสอนให้เด็กทำอะไรครูต้องเป็นอย่างนั้นก่อน การเรียนไม่ใช่เรียนในเฉพาะห้องเรียนเท่านั้นแต่บางอย่างเราต้องเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จริงด้วย และพระองค์ท่านยังทรงสอนให้เคารพคน ให้รู้จักคน ให้เข้าใจคน ให้ รู้ รัก สามัคคี ปรองดองกัน
2. ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน คือข้าพเจ้าจะนำแนวทางการสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปใช้ โดยในการจัดการเรียนการสอนแต่ละครั้ง ข้าพเจ้าจะทำให้นักเรียนดูก่อน เพื่อที่จะจูงใจให้นักเรียนสนใจ พยายามสอนให้นักเรียนเข้าใจ จะสอนในด้านคุณธรรม จริยธรรมด้วย และข้าพเจ้าจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนด้วย

3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร   
 ข้าพเจ้า จะเริ่มต้นจากการเสริมสร้างผู้เรียนให้มีการเรียนรู้วิชาการและทักษะต่างๆที่จำเป็น เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆและอยู่อย่างเศรษฐกิจพอเพียงได้ พร้อมทั้งเสริมสร้างคุณธรรม จนมีความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม





บทความที่ 3
วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบส์     THE STEVE JOBS WAY
    

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
      สตีฟ จ๊อบส์ คือ คนที่การศึกษาอย่างเป็นทางการไม่สูงนักแต่ฉลาดและน่าสนใจเขาได้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นจากมันสมองอัญชาญฉลาดของเขาสิ่งที่สร้างนั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากปาฏิหาริย์ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากมันสมองและสองมือของมนุษย์ที่ผ่านกระบวนการฝึก ศึกษา พัฒนา และใช้ปัญญา” กว่าเขาจะมาถึงวันนี้เข้าต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆๆมากมายแต่ก็สามารถพ้นผ่านมาได้จนได้ จนกลายเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
จะนำความรู้ที่มีทั้งหมดนำไปถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์โดยที่จะไม่หวงวิชา โดยใช้การสอนที่ทำให้นักเรียนทุกคนแสดงความสามารถของแต่ละคนออกมาให้ดีที่สุดและทำให้เขารู้ว่าเขามีความถนัดด้านใดก่อนที่จะสอนจะสอบถามถึงความถนัดในวิชาที่เรียนและนักเรียนเสนอแนวคิดและสิ่งที่จะเรียนที่แตกต่างกันออกไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เปิดโอกาสให้นักเรียนทึกคนได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างเต็มที่
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
   ในอนาคตข้าพเจ้าจะเป็นครูผู้สอน และจะนำแนวคิดของบทความนี้ไปใช้ในการออกแบบการสอนโดย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจ สามารถนำไปใช้ได้จริงจะมีการจัดกิจกรรมกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด 

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่7

สอนสังคมแบบ โยนิโสมนสิการ
 อาจารย์ผู้สอน อ.สิริมา กลิ่นกุหลาบ
สอนระดับชั้น .
สอนเรื่อง  คุณ โทษ และทางออกของปัญหา  เพื่อให้นักเรียนรู้จักการแก้ปัญหา
เนื้อหาที่สอน
๑. การสร้างศรัทธาโดยการร้องเพลงดอกไม้บาน
๒. ให้เด็กทำดอกไม้แห่งความดี เด็กเกิดความภูมิใจที่ทำความดีและได้รับคำชมเชยจากเพื่อนร่วมชั้น
๓. เด็กรู้จักคิดด้านบวกและลบ โดยการสร้างสถานการณ์ให้เด็กรู้จักคิดเพิ่มมากขึ้นและรู้จักวิธีแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้
.การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
.การคิดไตร่ตรองก่อนการแก้ปัญหา
.ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเรา
 กิจกรรมด้านการสอน
-ด้านสติปัญญา มีการกระตุ้นสติปัญญาของเด็กให้เด็กรู้จักคิด กล้าที่จะแสดงออก
-ด้านอารมณ์มีการกระตุ้นให้เด็กมีอารมณ์ร่วมในการเรียนรู้ สนใจการเรียน
-ด้านคุณธรรมจริยธรรม สอนให้เด็กรู้จักช่วยเหลือสังคม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
บรรยากาศการจัดห้องเรียน
นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน  มีความกล้าแสดงออก  สีหน้าของนักเรียนแสดงถึงความรู้สึกมีความสุขในการเรียนครูไม่กดดันนักเรียน  ให้นักเรียนมีอิสระในการเรียน

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่5

ครูที่ฉันชอบ
ประวัติส่วนตัว                                                                                                                           
 ชื่อ นายเชาวรัตน์      รักษาพล
นามแฝง/นามปากกา ครูเชาว์ เขาทะลุ
เกิดวันอังคารที่ 9 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2509 ปีมะเมีย อายุ 43 ปี
อยู่บ้านเลขที่ 48 ม.1 บ้านคลองขุด ต.หูล่อง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช 
คติชีวิต สังคมดีไม่มีขาย อยากได้ต้องช่วยกันทำ อยากให้สังคมดี มีเงินช่วยเงิน
มีแรงช่วยแรง ไม่มีเงินไม่มีแรง ช่วยให้กำลังใจ
ปรัชญาชีวิต สืบสาน เจตนารมณ์ อุดมการณ์ ของบรรพบุรุษ
- คติชีวิต สังคมดีไม่มีขาย อยากได้ต้องช่วยกันทำ อยากให้สังคมดี มีเงินช่วยเงิน
มีแรงช่วยแรง ไม่มีเงินไม่มีแรง ช่วยให้กำลังใจ
- ปรัชญาชีวิต สืบสาน เจตนารมณ์ อุดมการณ์ ของบรรพบุรุษ
ประวัติการศึกษา
ระดับประถมศึกษา จบ ป.4 จากโรงเรียนเทศบาลวัดศรีสมบูรณ์ อ.ปากพนัง จ.นครฯ (ปี 2520)
ระดับประถมศึกษา จบ ป.6 จากโรงเรียนเทศบาลวัดนาควารี อ.ปากพนัง จ.นครฯ (ปี 2522)
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จบ ม.3 จากโรงเรียนปากพนัง อ.ปากพนัง จ.นครฯ (ปี 2525)
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จบ ม.6 จากโรงเรียนจรัสพิชากร อ.เมือง จ.นครฯ (ปี 2528)
ระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเอกสุขศึกษา วิชาโทเทคโนโลยีทางการศึกษา(ปี 2531)
- คติชีวิต สังคมดีไม่มีขาย อยากได้ต้องช่วยกันทำ อยากให้สังคมดี มีเงินช่วยเงิน
มีแรงช่วยแรง ไม่มีเงินไม่มีแรง ช่วยให้กำลังใจ
- ปรัชญาชีวิต สืบสาน เจตนารมณ์ อุดมการณ์ ของบรรพบุรุษ
ประวัติการทำงาน
ลำดับที่ 1.พ.ศ.2531 ตำแหน่ง ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์สยามกีฬา หน่วยสังกัดมวยสยามภาคใต้
ลำดับที่ 2.พ.ศ.2536 ตำแหน่ง ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดนครศรีธรรมราช
ลำดับที่ 3.พ.ศ.2542 ตำแหน่ง นักจัดรายการวิทยุ โทรทัศน์ เวทีคอนเสิร์ตครูเชาว์โชว์
ผลงานที่ข้าพเจ้าชื่นชอบ1.ผู้สื่อข่าวดีเด่นของหนังสือพิมพ์สยามกีฬา รับรางวัลจากนายกสมาคมสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
2.ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนดีเด่น
3.นักจัดรายการวิทยุดีเด่น (ด้านการใช้ภาษาถิ่น) ของจังหวัดนครศรีธรรมราช
สิ่งที่จะนำมาพัฒนาตนเอง1. จะเป็นคนที่ใฝ่รู้
2. จะเป็นคนที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
3.  มีจิตอาสาทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
 

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4

สรุป เรื่อง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
การทำงานเป็นทีม  การทำงานให้สำเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถสองอย่างเป็นสำคัญ    คือสามารถในการใช้วิชาความรู้อย่างหนึ่ง  สามารถในการประสานสัมพันธ์กับผู้อื่นอีกอย่างหนึ่ง  ทั้งสองประการนี้ต้องดำเนินคู่กันไป  และจำเป็นต้องกระทำด้วยความสุจริตกาย  สุจริตใจ  ด้วยความคิด  ความเห็นที่เป็นอิสระ  ปราศจากอคติ  และด้วยความถูกต้อง   ตามเหตุตามผลด้วย  จึงจะช่วยให้งานบรรลุจุดหมายและประโยชน์ที่พึงประสงค์โดยครบถ้วน    
ทีม (Team)หมายถึง  การที่บุคคล  2  คน  ขึ้นไป  มาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพและผู้ปฏิบัติต่างเกิดความพอใจในการปฏิบัติต่อกันและกัน     ผลงานที่ได้มาจากการร่วมแรงร่วมใจกันของสมาชิกในทีมที่มีประสิทธิภาพ  บรรยากาศใน -ทีมงานสมาชิกจะมีความรู้สึกมีความสุขสนุกสนาน และรู้สึกว่าตนเองก้าวหน้าประสบความสำเร็จ
            ความสำคัญของทีม
การสร้างทีมงานและการพัฒนาองค์กรนั้นเป็นกิจกรรมที่ดีที่สุด  การทำงานเป็นทีม  จะเป็นประโยชน์สูงสุดขององค์กร    และมีโอกาสประสบผลสำเร็จมากกว่าการทำงานคนเดียวแต่การสร้างทีมงานนั้นต้องใช้ เวลา ในการพัฒนาบุคคล  และพัฒนาทีมงานพอสมควร จึงจะเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ

1.       แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีม เป็นอย่างไร     

 1.ทำความเข้าใจอย่างชัดเจนในเหตุผลสำหรับการตัดสินใจ
2. วิเคราะห์ลักษณะของปัญหาที่จะตัดสินใจ
3. ตรวจสอบทางเลือกต่างๆ ในการแก้ปัญหาโดยพิจารณาถึงผลที่อาจเกิดตามมาด้วย
4. การนำเอาผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ
6. ภาวะผู้นำที่เหมาะสม ผู้นำ หรือ หัวหน้าทีมควรทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะประเด็นที่สำคัญในการทำงานตามบทบาทของผู้นำ 
7. การตรวจสอบทบทวนผลงานและวิธีในการทำงาน ทีมงานที่ดีไม่เพียงแต่ดูจากลักษณะของทีม และบทบาทที่มีอยู่ในองค์กรเท่านั้น 
8. การพัฒนาตนเอง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพพยายามที่จะรวบรวมทักษะต่างๆของแต่ละคน การพัฒนาบุคลากรในองค์การมักจะมองในเรื่องทักษะและความรู้ที่แต่ละคนมีอยู่แล้ว ก็ทำการฝึกอบรมเพื่อปรับปรุงพัฒนาคนให้มีความสามารถสูงขึ้น อันจะมีผลดีในการทำงานให้ดีขึ้น


2.
นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร ยกตัวอย่างประกอบ
การทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพนั้น ต้อง
-   เข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายงานที่ชัดเจน
-  เปิดเผย จริงใจ ยอมรับ และรับฟัง
ร่วมมือกัน ใช้ความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์
ทบทวนการปฏิบัติงานและตื่นตัวตลอดเวลา
-  มีการพัฒนาตนเอง
-รู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น เข้าใจเพื่อนร่วมงาน และสามารถร่วมกลุ่มกันได้เป็นอย่างดี
       และต้องทำงานอย่างมีลำดับขั้นตอนในการทำงาน คือ วิเคราะห์งาน กำหนดเป้าหมายร่วมกัน วางแผนการทำงาน แบ่งงานให้สมาชิกของทีม ปฏิบัติจริงตามแผน ติดตามผล และประเมินขั้นสุดท้าย
อุปสรรคการทำงานเป็นทีม1.ขาดการตกลงกันตั้งแต่เริ่มต้น
2.มีการปกปิดข้อมูลผิดพลาดที่ผ่านมา
3.ไม่ได้ใช้วิธีการประชุมหารือ
4.ขาดการวางแผนงานและเวลา
5.ไม่มีการแบ่งความรับผิดชอบ
6.ขาดการประเมินผลการทำงานของทีม

กิจกรรมที่ 3

1.)   การจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียน เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 กับยุคก่อนศตวรรษที่ 21 เปรียบเทียบกันแตกต่างกันอย่างไร 
  -ในในยุคศตวรรษที่ 21  การเรียนการสอนส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในโรงเรียน  มนุษย์ไม่รู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง การเรียนรู้จะเน้นความจำ เป็นสำคัญ  แต่ในยุคศตวรรษที่ 11  มนุษย์จะศึกษาค้นคว้าอยู่ตลอดเวลาการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่  การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มนุษย์เรียนรู้ไม่มีขีดจำกัด    สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

2. )  ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูยุดต่อไปข้างหน้า ให้สรุปตามแนวคิดของนักศึกษา
       -การเตรียมตัวของครู ในอนาคตต่อไปข้างหน้า ในปี พ..2558  ประเทศไทยต้องเข้าสู้ประชาคมอาเซียน การเตรียมตัวเป็นครูในอนาคตอย่างแรกต้องมีความชำนาญในด้านภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากลของโลก  การเตรียมตัวในด้านอื่นๆต้องมีความพร้อมในทุกๆด้านโดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีครูต้องก้าวพร้อมไปกับเทคโนโลยี เพื่อสามารถถ่ายทอดให้เด็กได้   และที่สำคัญต้องทันต่อเหตุการณ์บ้านเมือง
                               

กิจกรรมที่ 2

สรุปทฤษฎีการบริหาร
            มาสโลว์เป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษยนิยม เขาได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบการศึกษาของอเมริกัน    มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน คือ
                1. ความต้องการทางกายภาพ คือความต้องการพื้นฐานของร่างกายที่จำเป็นในการดำรงชีวิต
                2. ความต้องการความปลอดภัย คือ ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
                3. ความต้องการทางสังคม คือความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
                4. ความต้องการยกย่องชื่อเสียง คือความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่า
                5. ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิตคือ ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์
             ทฤษฎีนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นทฤษฎีการมองต่างมุม ในความจริงของทุกคนไม่มีใครจะร้ายอย่างบริสุทธิ์ คือไม่มีข้อดีเลย คงไม่มี และในทางกลับกัน ก็คงไม่มีใครที่ดีทั้งหมด
 -ทฤษฎี X (Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม
 -ทฤษฎี Y (Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ
-ทฤษฎี Z บางตำราเรียกว่ากลุ่มทฤษฎีร่วมสมัย เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ แต่ทฤษฎีร่วมสมัยบางอย่างที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นทฤษฎี การที่จะทำความเข้าใจทฤษฎี Z ได้นั้น ต้องทำความเข้าใจของทฤษฎี A และทฤษฎี J ก่อน
ทฤษฎี A คือ  Amarican Theory เป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา
ทฤษฎี J คือ การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น ซึ่งมีลักษณะที่เรียกว่า  การจ้างงานตลอดชีวิต มีการเลื่อนตำแหน่ง มีความผูกพันกัน
           วิลเลี่ยม โอชิ มองเห็นข้อดีและข้อเสียของ 2 ทฤษฎีแล้วนำข้อดีข้อเสียนั้นมาวิเคราะห์สร้างเป็นทฤษฎีร่วมสมัย ที่เรียกว่า Blend Together หรือการนำมาผสมผสานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า ทฤษฎี Z ซึ่งเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ
            Henry Fayol   บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่
เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ
เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ
         แมกซ์ เวเบอร์   เป็นนักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy เขาเห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสม โดยสรุปแล้วแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6 ประการ คือ
1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ
2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการทุกคนที่เข้าร่วมในหน่วยงาน
 4. องค์การต้องมีระเบียบและกฏเกณฑ์  เพื่อให้สามารถประกันความเป็นเอกภาพในการดำเนินการ
5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง คือการไม่มีอะไรเป็นพิเศษเป็นการส่วนตัว ถ้าจะทำอะไรก็ต้องให้เป็นไปตามกฏเกณฑ์ที่ได้มีการกำหนดเอาไว้
6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ
           Luther Gulick   เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ ในวงการบริหารจะรู้จักกิจกรรมทั้ง 7 ประการ กิจกรรม 7 ประการมีดังนี้
P คือการวางแผน หมายถึงการกำหนดเป้าหมายขององค์การว่าควรทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อะไร และจะดำเนินการอย่างไร
O คือการจัดองค์การหมายถึงการจัดตั้งโครงสร้างอำนาจอย่างเป็นทางการภายในองค์การเพื่อประสานงานหน่วยทำงานย่อยต่าง ๆ ให้สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์การได้
D คือการสั่งการ หมายถึง การที่หัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่ต้องตัดสินใจอยู่ตลอดเวลามีหน้าที่เป็นผู้นำขององค์การ
S คือการบรรจุ หมายถึง หน้าที่ด้านบริหารงานบุคคลเพื่อฝึกอบรมเจ้าหน้าที่
CO คือการประสานงานหมายถึง หน้าที่สำคัญต่าง ๆ ในการประสานส่วนต่างๆของงานให้เข้าด้วยกันอย่างดี
R คือการรายงาน หมายถึง การรายงานความเคลื่อนไหวต่าง ๆ
B คือการงบประมาณหมายถึงหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวของกับงบประมาณในรูปของการวางแผน                                         
           Frederick Herzberg   ทฤษฎี 2 ปัจจัย
การทำงาน และทำให้เขาได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า Hygiene Factors
2. ปัจจัยภายใน หรือ Motivation Factors
                 Frederick W. Taylor   ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
เทย์เลอร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่
   1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
    2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
   3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
   4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ
              Henry L. Gantt    ผู้พัฒนาการอธิบายแผนโดยใช้กราฟ (Gantt Chart)
คุณ Gantt เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดในด้านที่นำเอากราฟ "Gantt Chart" มาเป็นสื่อในการอธิบายแผน การวางแผน การจัดการ และการควบคุมองค์กรที่มีความสลับซับซ้อน เพื่อให้ผู้รับฟังเกิดมิติในการรับรู้มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นแล้วเขายังได้คิดวิธีจ่ายค่าตอบแทนในการทำงานแบบใหม่ โดยใช้วิธีให้สิ่งจูงใจ
Frank B. & Lillian M. Gilbreths    Time – and – Motion Studies
แนวคิดของ Gilbreth เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง และความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง   


สรุปจากเอกสารบริหารการศึกษา
บทที่ 1
มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
การบริหาร  เริ่มใช้เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายโดยกลุ่มนักรัฐศาสตร์ ซึ่งหมายถึง การจัดการหรือควบคุมกิจการต่างๆของรัฐ ส่วนการบริหารของรัฐหมายถึงการบริหารหรือการจัดการหรือดำเนินการในด้านรายละเอียดอย่างมีระเบียบ ส่วนความสำคัญของการบริหารเป็นการดำรงอยู่รวมกันของมนุษย์  เป็นผลทำให้การบริหารของหน่วยงานต่างๆได้ขยายงานอย่างกว้างขวาง  การบริหารการศึกษา  หมายถึง  กิจกรรมต่างๆ  ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ  เพื่อพัฒนาสังคมในทุกๆด้าน และการบริหารการศึกษา หมายถึงกิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน
บทที่  2
วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆและการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
วิวัฒนาการด้านรัฐกิจให้ความหมายการบริหารงานของรัฐหมายถึง การบริหารหรือจัดการหรือดำเนินการในด้านรายละเอียดอย่างมีแบบแผน ซึ่งเกี่ยวพันกับกฎหมายต่างๆของรัฐการใช้กฎหมายคือการบริหาร ส่วนวิวัฒนาการด้านธุรกิจในระบบมีการใช้วิธีฝึกจากการทำงานการจัดการ เป็นสาขาที่สำคัญ  นอกจากการใช้  “ระเบียบวินัยในการทำงาน การบริหารด้านธุรกิจมีการวางกฎเกณฑ์ ระเบียบปฏิบัติวัตถุประสงค์และการรวมพลังของกลุ่ม  ดังนั้นปรัชญาของการบริหารธุรกิจจึงมุ่งแสวงหากำไรมากกว่าอย่างอื่น  เป็นเป้าหมายสำคัญในการแบ่งยุคของยุคของนักทฤษฎีการบริหารจะแบ่งได้ดังนี้ในยุคที่ 1 นักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิม จะจัดการงานซึ่งได้ปฏิบัติ โดยอาศัยหลักควบคุมทางวินัย ใน ยุคที่ยุค  Human  Relation  Era  ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ความรู้ความชำนาญของผู้บริหาร  คือ  ผู้บริหารต้องมีความรู้  ความฉลาด  ส่วนการประยุต์ใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์ในการบริหารการศึกษาเราสามารถนำหลักมนุษยสัมพันธ์มาใช้ในการบริหารการศึกษา ส่วนในยุคที่ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริการ เป็นการจัดองค์การที่เป็นทางการจึงให้ทฤษฎีองค์การและยึดตามแนวมนุษยสัมพันธ์ให้ความสำคัญกับตัวบุคคล  มุ่งด้านระบบขององค์การ  และสนใจจะพูดถึงพฤติกรรมศาสตร์
บทที่  3
งานบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาจะไม่แตกต่างกับการบริหารงานทั่วไป กล่าวคือสามารถนำหลักการของของการบริหารทั่วไปมาใช้กับการบริหารศึกษาได้ ผลเสียของการบริหารดังกล่าวสามารถมองเห็นได้ง่าย  เพราะจะมีลักษณะเผด็จการโดยการสั่งการสั่งจากเบื้องบน  มีคำสั่งให้ครูปฏิบัติและมีข้อห้ามในการกระทำ  และมีการควบคุมอย่างเข้มงวดและมีการลงโทษหากผู้ใดฝ่าฝืนและลงโทษตามกฎหมายกำหนดและมีเครือข่ายทางการศึกษาดังนี้
1.การผลิต หมายถึง กิจกรรมพิเศษหรืองานที่ทางองค์การได้จัดตั้งขึ้น
2.การประกันถึงการใช้ผลผลิตจากประชาชน หมายถึง กิจกรรมและผลผลิตของการดำเนินงาน
3.การเงินและการบัญชี หมายถึง  การรับและการจ่ายเงินในการลงทุนในกิจกรรมขององค์การ
4.บุคลากร คือ   การกำหนดรอบและการดำเนินการของนโยบาย
5.การประสานงาน  คือ  เป็นกิจกรรมที่สำคัญของการบริหารการศึกษา
บทที่  4
กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาเป็นหน้าที่หนึ่งของรัฐบาลในการบริหารประเทศ  เป็นการบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน  ที่เรียกว่าการบริหารการศึกษาสิ่งที่ทำให้การบริหารการศึกษา  การบริหารราชการ  และการบริหารธุรกิจจะแตกต่างกัน  และปรัชญาการศึกษา  ในการบริหารการศึกษาผู้บริหารนั้นจะต้องรู้เกี่ยวกับหลักการบริหาร  ที่สามารถนำไปเป็นหลักการจัดการศึกษาในโรงเรียนมี  2 เรื่อง คือ  1.การจัดระบบสังคม 2.เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา สำหรับหลักการจัดระบบการศึกษา  ไม่ว่าระดับชาติ  ระดับท้องถิ่น  ระดับโรงเรียน คือจะต้องรู้จักเด็กทุกคน  โดยยึดหลักความเสมอภาคและเหมาะสมกับปรัชญา สภาพแวดล้อมของโรงเรียน และมีการส่งเสริมกิจกรรมให้สอดคล้องกับการปกครองในการบริหารงานในชั้นเรียนอย่างเท่าเทียมกันโดยกระบวนการบริหารการศึกษา  เป็นความคิดรวบยอดและเป็นการจัดระบบการศึกษา ให้เป็นไปตามกระบวนการศึกษาของโรงเรียน
บทที่  5
องค์การและการจัดองค์การ
องค์การตามแนวคิด หมายถึงส่วนประกอบที่เกิดจากระบบย่อยหลายระบบที่มีปฏิสัมพันธ์  กันภายใต้สิ่งแวดล้อมหรือระบบใหญ่ เราสามารถจำแนกองค์การที่อยู่รอบตัวเราออกเป็น  ลักษณะใหญ่ๆคือ
1.             องค์การทางสังคม
2.             องค์การทางราชการ
3.             องค์การเอกชน
     แนวคิดในการจัดองค์การ
1.  แนวคิดในการจัดองค์การมาจากพื้นฐานการดำเนินงานขององค์การที่ภารกิจมาก
2.  แนวคิดในการจัดองค์การยังต้องคำนึงถึง  ผู้ปฏิบัติงาน
3.  แนวในการจัดการองค์การ  จะต้องกล่าวผู้บริหารควบคู่กันไป
     ความสำคัญของการจัดองค์การเป็นที่รวมของคนและเป็นที่รวมของงานต่างๆ  เพื่อให้พนักงานขององค์การ  ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ
    องค์ประกอบในการจัดองค์การ
                1.  หน้าที่การงานเป็นภารกิจ
                2.  การแบ่งงานกันทำ
                3.  การรวมและการกระจายอำนาจในการจัดการองค์การ
    ทฤษฎีองค์การ  ความรู้ที่ได้จากทฤษฎีขององค์การอันด้มาจากสังคมวิทยา  รัฐศาสตร์  และบางส่วนของจิตวิทยาสังคมกับเศรษฐศาสตร์                 
ระบบราชการและองค์การทางการศึกษา ให้ความหมายไว้ว่าระบบราชการ  หมายถึง  ระบบการบริหารที่มีลักษณรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางอย่างมาก  มีความอิสระในการปฎิบัติงานและเป็นกึ่งทหาร
บทที่ 6
การติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสารเป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการบริหารที่ดี มีความหมายว่ากระบวนการติดต่อเกี่ยวข้องและประสานงานกันระหว่างบุคคล โดยอาศัยวิธีการถ่ายทอด และการรับข้อมูลเพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้ การติดต่อสื่อสารจึงมีความสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารเพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดหรือเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกันและยังมีความสำคัญในการดำเนินการในองศ์การอย่างมาก ปัจจัยในการติดต่อสื่อสารมี 3 ตัว คือ สื่อ ช่องทางที่สื่อผ่านและกระบวนการ รูปแบบของการติดต่อสื่อสาร การจัดเตรียม การสังเกตการณ์ของกระบวนการ การจำแนกปัจจัยผันแปร ชึ่งสิ่งเหล่านี้จะกำหนดทิศทาง ช่วยให้ผู้บริหารจับประเด็นปัญหาของการติดต่อสื่อสาร และช่วยป้องกันความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นก่อนล่วงหน้า องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสารจะมีผู้ส่งสาร ช่องทาง ข้อมูล ผู้รับสาร การตอบรับ ส่วนการติดต่อสื่อสารจะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข่าวสารมีความเข้าใจระหว่างผู้ปฎิบัติงานเพื่อการทำงานไปด้วยดี ช่วยสร้างทัศนคติเกิดแรงจูงใจ เพื่อเกิดแรงจูงใจ
บทที่ 7
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ หมายถึงการเป็นผู้นำที่ใช้อิทธิพลในการดำเนินงาน ในความสัมพันธ์ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานการณ์ต่างๆเพื่อปฏิบัติการและอำนวยการ โดยใช้กระบวนการติดต่อชึ่งกันและกัน หน้าที่ผู้นำเกี่ยวข้องกับ การอำนวย การจูงใจ การริเริ่ม กำหนดนโยบาย วินิจฉัยสั่งการ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ มีผู้นำ ผู้ตาม สถานการณ์ ผู้นำกับผู้บริหารจะแตกต่างกันคือผู้นำก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ส่วนผู้บริหารเป็นผู้รักษาความมั่นคงในหน่วยงาน ผู้นำจะกลุ่มยกย่องเนื่องจากมีลักษณะเด่นเป็นพิเศษเหนือบุคคลอื่นเนื่องจากผู้บริหารมีรูปแบบเป็นทางการ
บทที่ 8
การประสานงาน
การประสานงาน คือการจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่งๆร่มมือปฎิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งเดี่ยวกัน เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบาย ความมุ่งหมายในการประสานช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อจัดความซ้ำซ้อนกันของการทำงานโดยไม่จำเป็น และเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงาน ภารกิจในการประสานงานที่ดี ควรทราบถึงภารกิจที่ดีในการประสานงานคือต้องทราบนโยบาย แผนงาน งานที่รับผิดชอบ และทรัพยากร ส่วนหลักการประสานงานควรจัดให้มีระบบในการสื่อสาร ความร่วมมือ การประสานงานและนโยบายที่ดี และในการประสานให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วควรจะมีโครงสร้างที่จัดเป็นระบบแบบแผน มีแผนภูมิแสดงสายการบังคับ มีการเขียนนโยบาย มีระบบเสนองาน มีเครื่องมือและระบบสื่อสารที่เพียงพอและเปิดโอกาสให้กับผู้เข้าร่วม การประสานงานที่ดีจะมีประโยชน์หลายอย่างคือช่วยลดการขัดแย้ง ลดปัญหาที่ซับซ้อน ทำให้เกิดเอกภาพในการทำงาน ช่วยให้ประหยัดเงิน เวลา
บทที่ 9
การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
การตัดสินใจคือการชั่งใจไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อให้การดำเนงานไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่วนการวินิจฉัยสั่งการคือการสั่งงานหรือการพิจารณาตกลงชี้ขาดจากทางเลือกที่มีอยู่มากกว่าหนึ่งทางขึ้นไป หลักการในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ บางครั้งตัดสินใจถูกแต่การสั่งงานผิดพลาดอาจทำให้เกิดผลเสียหายแก่งาน  ลักษณะการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหารที่ดี จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้ ระยะเวลาที่เหมาะสม ความแน่นอน ความรู้ความสามารถของผู้บริหาร ประสบการณ์ในการทำงาน ทัศนคติ บุคลิกภาพที่มีอิทธิพล ความลำเอียงส่วนบุคคล ความโดดเดี่ยว ประสบการณ์ การรู้โดยความรู้สึก และการแสวงหาคำแนะนำ
บทที่ 10
ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน
ผู้บริหารโรงเรียน ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายงานให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาหรืออำนวยการต่างๆ  จะมีหลายด้าน ดังนี้   1.การบริหารงานวิชาการ จะเป็นหัวใจของการบริหารในโรงเรียน ลักษณะและความสำคัญของงานวิชาการ จึงถือว่างานวิชาการท้าทายผู้บริหารการศึกษา งานวิชาการจะเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน และผู้บริหารจะต้องรับรู้ รับผิดชอบ ควบคุมดูแลในการดำเนินการวางแผน  2.การบริหารบุคคล คือการจัดงานเกี่ยวกับคนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมให้กำลังใจผู้ปฎิบัติให้ทำงานอย่างมีปะสิทธิภาพ  ความสำคัญของการบริหารบุคคล คือ คนเป็นผู้บันดาลให้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อสรรหาและเลือกสรรคนดี มีความรู้ความสามารถมาทำงานให้เกิดผลสูงสุดอยู่กับองศ์การนานๆ  3.การบริการธุรการในโรงเรียน คืองานธุรการเป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนหรอสถาบันการศึกษา ส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ความสำคัญจะเป็นเสมือนน้ำมันหล่อลื่นให้เครื่องจักร(งานวิชาการ) ทำงานได้ดีและเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสามารถของผู้บริหารงาน หน้าที่ของผู้บริหารงานธุรการ คือจะเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายงานธุรการ ติดตามและวางแผนการปฎิบัติงาน จัดระบบงาน  4.การบริหารงานนักเรียน เป็นการบริการงานเกี่ยวกับนักเรียนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียน หลักในการจัดกิจกรรม ต้องให้นักเรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมอย่างเสมอภาค ต้องอยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษา ต้องปลูกฝังความคิด  5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ คือการรู้จักจัดหา รู้จักใช้อาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุดและให้คงสภาพดีสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ